มาตรฐานไฟล์ภาพ WebP แบบใหม่ของ Google วิศกรบอก ทำให้ช้าลง
ก่อนหน้านี้
ถ้าใครได้ติดตามข่าวสารเทคโนโลยีใหม่ๆ ของ Google
เกี่ยวกับเว็บไซต์มาตรฐานใหม่ ก็น่าจะพอทราบกันมาบ้าง ว่า Google
ได้กำลังพัฒนาฟอร์แม็ตไฟล์ภาพชนิดใหม่ขึ้นมา นั่นก็คือ WebP
เพื่อนำเอามาใช้แทนรูปแบบไฟล์ภาพที่เป็นมาตรฐานสุดนิยมในทุกวันนี้อย่าง
JPEG แทน ด้วยฟีเจอร์เด่น ที่จะช่วยให้การเปิดหรือโหลดข้อมูลภาพบนเว็บไซต์
ทำได้เร็วขึ้นกว่าเดิม แต่มาวันนี้ ดูเหมือนจะมีผลพลิกโผอยู่สักหน่อย
ด้วยวิศวกรของบริษัทเอง ที่ได้ออกมาบอกถึงผลลัพธ์
ว่ามันกลับทำให้ช้าลงซะอย่างนั้น
มาตรฐาน WebP นี้ ถูกออกแบบมาเพื่อบีบอัดรูปแบบภาพกราฟฟิก
ให้ดีกว่ามาตรฐานเดิมๆอย่าง JPEG, GIF และ PNG
ดังนั้นมันก็จะส่งผลให้ขนาดของไฟล์ภาพนั้น ลดต่ำลงกว่าเดิม
และนั่นก็จะแปลว่า ข้อมูลของภาพนั้น
จะสามารถถูกส่งไปถึงปลายทางได้ไวมากขึ้น
แต่สิ่งที่เป็นสาเหตุให้การทำงานนั้นช้าลง
ก็เป็นเพราะขั้นตอนในการเข้ารหัสและถอดรหัสการบีบอัดที่ว่านั่นเอง
แต่หนึ่งในฟีเจอร์ใหม่ล่าสุดของมาตรฐาน WebP ตัวนี้
นั่นก็คือการรองรับรูปแบบภาพเคลื่อนไหว animation ด้วย
คล้ายกันกับรูปแบบภาพเคลื่อยไหว GIF
ที่มีการเอาภาพหลายๆภาพมาเรียงต่อไปกันไปเรื่อยๆนั่นเอง
ซึ่งก็มีความเป็นไปได้สูง ที่มาตรฐาน WebP ตัวนี้
จะเข้ามาแทนที่รูปแบบมาตรฐานภาพแบบเดิมๆ ทั้ง JPEG และ GIF เพราะตอนนี้
ก็เริ่มมีแฟนๆทำภาพเคลื่อนไหว ในแบบฟอร์แม็ตของ WebP
ที่รองรับการใช้งานกับโปรแกรม Chrome ออกมาแล้ว
คำถามต่อมา นั่นก็คือมันจำเป็นที่จะต้องเพิ่มความยุ่งยาก
ด้วยการใส่ฟีเจอร์ภาพเคลื่อนไหวของมาตรฐาน WebP เข้าไปด้วยเหรอ
ในเมื่อมาตรฐานภาพวิดีโอออนเว็บนั้น ก็สามารถที่จะสร้างใส่เข้าไปใน HTML
ได้แล้ว
Alpha (Hin-Chung) Lam ได้ทดลองวิเคราะห์ขนาดไฟล์วิดีโอแมว 63 ตัวจาก
Tumblr พบว่า ภาพเคลื่อนไหวมาตรฐาน WebP นั้น มีขนาดไฟล์อยู่ที่ระดับ 38
เปอร์เซ็นต์จากขนาดไฟล์ต้นฉบับที่เป็น GIF
ส่วนวิดีโอที่เข้ารหัสด้วยมาตรฐานวิดีโอสำหรับเว็บอีกตัวของ Google ในชื่อ
VP8 ก็มีขนาดอยู่ที่ 53 เปอร์เซ็นต์ ยังเป็นขนาดที่ใหญ่กว่า WebP
แต่ก็ยังเล็กกว่าภาพเคลื่อนไหว GIF
แน่นอนว่ามันยังเป็นมาตรฐานที่ใหม่อยู่
และความนิยมหรือแพร่หลายในทุกวันนี้ ก็ยังมีไม่มากสักเท่าไหร่
แต่เมื่อระดับ Google เป็นคนผลักดันเองแบบนี้
ก็ไม่แน่ว่ามันอาจจะกลายมาเป็นมาตรฐานสากลทดแทนมาตรฐานเดิมๆได้
แต่ก็อีกเช่นกัน ว่าสุดท้ายก็ต้องอาศัยเวลาเป็นเครื่องมือช่วยบอก
ว่ามันเป็นดังว่าหรือไม่
ที่มา: CNET
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น