กานดา นาคน้อย: ปัญหาของร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้าน
จาก http://www.prachatai3.info/journal/2013/03/46008 ของเดิมๆ ครับ
ดิฉันเห็นด้วยกับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้วยระบบรถไฟฟ้ารางคู่ รถไฟฟ้าความเร็วสูง และรถไฟฟ้าในเขตกทม.และปริมณฑล แต่ไม่เห็นด้วยกับการ“รีบร้อน”ผ่านร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้เพื่อระดมทุน เนื่องจากรายละเอียดที่รมว.คมนาคมและผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขน ส่งและจราจร(สนข.)เปิดเผยกับสื่อมวลชนขัดแย้งกับข้อเท็จจริง บางประเด็นก็ขัดแย้งกันเองทั้งๆ ที่เป็นโครงการเดียวกัน หลายประเด็นก็คลุมเครือมาก
1. ในรายการ Wakeup Thailand เมื่อวานนี้ รมว.คมนาคมเสนอว่าประเทศอื่นเขาก็กู้กันแบบนี้ [1]
ข้อเสนอดังกล่าวมีปัญหาดังนี้
1. โครงการสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่ไต้หวันใช้วิธีให้สัมปทานแบบ Build-Operate-Transfer (BOT) คือเอกชนที่รับสัมปทานเป็นผู้ออกแบบ ก่อสร้าง บริการจัดการ และเมื่อครบกำหนดสัญญาแล้วก็โอนกิจการและทรัพย์สินคืนแก่รัฐบาล ตั้งแต่ประมูลได้จนทดลองขับเคลื่อนรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่ไต้หวันใช้เวลา 8 ปี [2]
2. เกาหลีใต้ตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างรัฐและภาคเอกชนเพื่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็ว สูงโดยมีเงื่อนไขให้บริษัทร่วมทุนกู้เองด้วย รัฐบาลเอางบประมาณมารับภาระหนี้สิน 55% ของราคาโครงการเท่านั้น [3] ต่างจากข้อเสนอของร่าง พ.ร.บ.นี้ที่รัฐบาลไทยเอางบประมาณมาแบกรับภาระหนี้สิน 100% (ของค่าราง ค่าเดินรถยังไม่ได้ตัดสินใจ ประเด็นนี้ขอยกไปภายหลัง)
3. ในอดีตที่สหรัฐฯ บริษัทเอกชนระดมทุนทำรถไฟฟ้าข้ามมลรัฐเอง บริษัทที่ขาดทุนโดนรัฐบาลเข้าไปเทคโอเวอร์ให้เป็นรัฐวิสาหกิจในภายหลัง บริษัทที่ไม่ขาดทุนคือบริษัทรถไฟฟ้าที่ขนส่งสินค้า
4. รัฐบาลญี่ปุ่นและอังกฤษลงทุนทำโครงการรถไฟฟ้าทางคู่และรถไฟฟ้าความเร็วสูงเอง แต่เดินรถขาดทุนจนโดนแปรรูป [4] [5]
5.ญี่ ปุ่น เกาหลีใต้ อังกฤษ และทุกประเทศที่มีรถไฟฟ้าความเร็วสูงในยุโรปมีการจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน ดังนั้นเจ้าของที่ดินที่มูลค่าสูงขึ้นเพราะอยู่ใกล้เครือข่ายรถไฟฟ้าเสีย ภาษีเข้าคลังมากกว่าเจ้าของที่ดินที่อยู่ไกลจากเครือข่ายรถไฟฟ้า แต่ไทยไม่มีการเก็บภาษีทรัพย์สิน ทำให้การแบกภาระการใช้หนี้ในอนาคตไม่เป็นธรรมเท่าต่างประเทศ ปัจจุบันโครงสร้างภาษีของไทยก็ไม่เป็นธรรมอยู่แล้วเพราะรายได้ภาษีมาจากภาษี ทางอ้อมที่ผลักภาระไปที่ผู้บริโภค (เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีน้ำมัน) มากกว่าภาษีทางตรง (ภาษีเงินได้ส่วนบุคคลและภาษีเงินได้นิติบุคคล)
6. รถไฟฟ้ามหานครในญี่ปุ่นส่วนใหญ่ลงทุนและบริหารโดยเอกชน รัฐบาลสนับสนุนด้วยการให้กู้ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าตลาด
2. รมว.คมนาคมปฎิเสธข้อเสนอของรัฐบาลจีนซึ่งเสนอให้ร่วมทุนด้วยกันด้วยเหตุผล ที่ว่าตามหลักเศรษฐศาสตร์ไม่มีของฟรีในโลก (No free lunch) จะทำให้มีข้อจำกัดและเงื่อนไขตามมา
ข้อเสนอนี้มีปัญหาดังนี้
1. ไม่มีหลักประกันว่าการลงทุนเอง 100% หรือร่วมทุนกับเอกชนสัญชาติเดียวกันจะทำให้กำไรมากกว่าร่วมทุนกับรัฐบาลต่าง ชาติ ที่สำคัญ เอกชนสัญชาติเดียวกันมีแค่บริษัทบีทีเอสที่มีประสบการณ์ในการบริหารรถไฟฟ้า ไม่มีบริษัทไทยที่มีประสบการณ์บริหารรถไฟฟ้าความเร็วสูง
2. ตราบใดที่ยังอยากบริโภคเทคโนโลยีที่ตนผลิตเองไม่ได้หรือไม่มีเงินมากพอจะไป ซื้อหุ้นบริษัทเจ้าของเทคโนโลยี ความอิสระทางเศรษฐกิจเป็นเรื่องโรแมนติกเพ้อฝัน ไม่ว่าระดมทุนแบบไหน ซื้อเทคโนโลยีจากประเทศไหนก็ไม่ใช่ของฟรีทั้งนั้น ถ้าฟรีจะต้องกู้ 2 ล้านล้านหรือ? ซื้อเทคโนโลยีจากใครก็จะมีข้อจำกัดและเงื่อนไขด้านการซ่อมแซมและอะไหล่ต่อไป
3. รมว.คมนาคมเสนอว่าโครงการนี้เน้นการทำรางทั้งในเขตกทม. รางคู่ทั่วประเทศและรางรถไฟฟ้าความเร็วสูง ส่วนตัวรถไฟฟ้าอาจจะให้เอกชนเข้ามาลงทุน ต้องไปคิดให้ตกผลึกว่าใครจะเป็นคนเดินรถ
ข้อเสนอดังกล่าวมีปัญหาดังนี้
1. ถ้ายังวางแผนกันไม่เสร็จ ยังไม่ตกผลึกไปถึงจุดที่ว่าเดินรถได้ แล้วสรุปได้อย่างไรว่าจะคิดค่าตั๋วเท่าไรจะลดต้นทุนการขนส่งได้เท่าไร? ถ้าจะทำแบบให้สัมปทานทำไมไม่คิดให้เสร็จไปเลยแบบไต้หวัน? ถ้ายังไม่ตกผลึกก็ไม่จำเป็นต้องออกพ.ร.บ.กู้ล่วงหน้าผูกพันด้วยมูลค่ามหาศาล แบบนี้
2. เมื่อพยายามหาข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรที่จะบริหารรถไฟฟ้าความเร็วสูงในอนาคต พบข่าวในสัปดาห์นี้ว่ายังอยู่ในขั้นเตรียมตัวจัดตั้งบริษัท กระทรวงการคลังจะถือหุ้นใหญ่ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)จะถือหุ้น 5%-10% [8] แต่ไม่พบรายละเอียดว่าบริษัทนี้จะบริหารแต่รางหรือจะบริหารการเดินรถในอนาคตด้วย
3. ขัดแย้งกับบทสัมภาษณ์ของผอ.สนข. เมื่อวันที่ 28 พย. 2555 ผอ.สนข.เสนอว่าจะใช้โมเดลญี่ปุ่น [9] ลักษณะ สำคัญของโมเดลญี่ปุ่นคือไม่แยกรางออกจากบริษัทเดินรถ ผอ.สนข.เสนอด้วยว่าจะบริหารรถไฟฟ้าความเร็วสูงด้วยรัฐวิสาหกิจ เป็นไปได้ว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์อาจจะไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของผอ.สนข. แต่ถ้าผู้สื่อข่าวรายงานไม่ผิดก็แปลว่าสนข.เข้าใจผิด ทั้งๆที่สนข.รับผิดชอบวางแผนโครงการนี้มานาน ไปดูงานกันที่ญี่ปุ่นแต่ผอ.สนข.ยังไม่เข้าใจว่ารัฐบาลญี่ปุ่นแปรรูปรถไฟฟ้า รางคู่และรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่เรียกว่าชิงคังเซ็นให้เป็นเอกชน 100% ไปแล้วหลายสายโดยเฉพาะสายสำคัญที่สุดที่เชื่อมโตเกียวและโอซาก้า [10] [11] รัฐบาลญี่ปุ่นยังไม่มีแผนล้มเลิกการแปรรูปสายย่อย(ทั้งรถไฟฟ้าโดยสารและ รถไฟฟ้าขนส่งสินค้า)ที่ยังเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่ยังไม่ขายหุ้นเพราะต้องรอจังหวะขายหุ้น แผนการการแปรรูปรถไฟฟ้ารางคู่และรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่ญี่ปุ่นเริ่มมา ตั้งแต่ปีพศ. 2530 สาเหตุคือขาดทุนและมีหนี้สินมาก [12] [13] ในขณะที่รถไฟฟ้าในเขตมหานครของเอกชนบริหารได้กำไรดี อย่างไรก็ดี ทั้งก่อนแปรรูปและหลังแปรรูป โมเดลญี่ปุ่นไม่เคยแยกรางออกจากการเดินรถ
5. สหรัฐฯ ก็ไม่แยกรางรถไฟฟ้ารางคู่และการเดินรถออกจากกัน เคยมีความพยายามแยกออกจากกันเพื่อแปรรูปรัฐวิสาหกิจรถไฟฟ้าข้ามมลรัฐแต่ โครงการแปรรูปล้มเลิกไป รัฐวิสาหกิจดังกล่าวเคยเป็นบริษัทเอกชนหลายบริษัทที่รัฐบาลเทคโอเวอร์ให้ เป็นรัฐวิสาหกิจตั้งแต่ 40 ปีที่แล้ว
6. อังกฤษแยกรางรถไฟฟ้าทางคู่และการเดินรถออกจากกันตอนแปรรูปเป็นเอกชน (เพราะรัฐทำแล้วขาดทุน) แต่สุดท้ายรางก็กลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจอีกครั้งแล้วการเดินรถเป็นเอกชน มีปัญหาหลายอย่างจนกระทั่งรัฐบาลเมืองลอนดอนตัดสินใจซื้อรถไฟฟ้าใต้ดินกลับ คืนมาบริหารเองจนครบทุกสายเมื่อ 3 ปีที่แล้ว [5] ส่วน รถไฟฟ้านอกลอนดอนยังแยกรางและตัวรถต่อไปแม้จะยังมีปัญหาที่แก้ไม่ได้ ประเทศยุโรปที่มีแผนจะแปรรูปกิจการรถไฟก็จับตามองโมเดลอังกฤษว่าจะแก้ปัญหา กันต่อไปอย่างไร
กลับมาที่โมเดลญี่ปุ่นที่กนข.ชื่นชม ญี่ปุ่นรวยกว่าไทยและมีเทคโนโลยีรถไฟฟ้าของตัวเองยังทำรถไฟฟ้าความเร็ว สูง“ทีละสาย” พอวางรางเสร็จเดินรถเลยพลเมืองญี่ปุ่นได้นั่งรถไฟฟ้าความเร็วสูงทีละสาย พลเมืองไทยจะได้ประโยชน์อะไรจากการวางรางรถไฟฟ้าความเร็วสูงไปทั่วประเทศทุก สาย? ได้ดูรางรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่ไม่มีรถวิ่งหรือ?
4. รมว.คมนาคมเสนอว่าจะลดต้นทุนการขนส่งปีละ 2 แสนล้าน
ข้อเสนอนี้มีปัญหาดังนี้
1. คำนวณกันยังไงทั้งๆที่ยังไม่ได้วางแผนจนตกผลึกว่าใครจะรับผิดชอบเดินรถ? เอาตัวเลขประเมินการลดต้นทุนมาจากประเทศอื่นหรือเปล่า? ถ้าเอามาจากประเทศอื่น ประเทศนั้นบริหารด้วยโมเดลไหน?
2. ในทางสถิติตัวเลขนี้น่าจะเป็นค่าเฉลี่ย แล้ว standard error ของการประเมินเท่าไร? ระยะเวลาคุ้มทุนอยู่อยู่ในช่วงเวลากี่ปี?
3. สมมุติว่าเฉลี่ยแล้วลดได้ปีละ 2 แสนล้าน แล้วแบ่งกันยังไง? ลดต้นทุนการขนส่งวัตถุดิบและผลผลิตแล้วจะส่งผ่านส่วนลดไปให้ผู้บริโภค เท่าไร? กลายเป็นรายได้ภาษีเข้าคลังเท่าไร? ผู้ผลิตและ distributor กักกำไรจากการลดต้นทุนไว้กะตัวเท่าไร?
4. คำนวณไปถึงความเสี่ยงด้านราคาของพลังงานไฟฟ้าแล้วหรือยัง? จะเพิ่มการนำเข้าไฟฟ้าแบบมากมายมหาศาล? หรือว่าไทยจะทำโรงไฟฟ้าเพิ่ม?
5. รมว.คมนาคมเสนอว่าอาจจะคุ้มทุนเร็วใช้หนี้ได้เร็วแบบใช้หนี้ไอเอ็มเอฟ
ข้อเสนอนี้มีปัญหาตรงที่ว่า
1. ส่วนที่จ่ายก่อนกำหนดในเดือนกค.ปี 2546 นั้นคืองวดสุดท้ายและจ่าย 96 ล้านเหรียญสหรัฐ [14] ถ้าคิดด้วยอัตราแลกเปลี่ยนตอนนั้น 42 บาทต่อดอลลาร์แล้วคิดเป็น 4 พันล้านบาท1 ใน 500 ของเงินกู้ 2 ล้านล้านในร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้เท่านั้น การยกหนี้ไอเอ็มเอฟมาอ้างอิงคือการบิดเบือนข้อมูลเพราะตัวเลขแตกต่างกันถึง 500 เท่า
2. หนี้ไอเอ็มเอฟเป็นหนี้ที่กู้มาเสริมเงินทุนสำรองระหว่างต่างประเทศ โดยกลไกทางเศรษฐศาสตร์แล้วเมื่อเงินบาทตกทำให้ราคาสินค้าไทยได้เปรียบในตลาด โลก เมื่อส่งออกมากขึ้นเงินตราต่างประเทศก็ไหลเข้าประเทศโดยธรรมชาติทำให้ทุน สำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น เมื่อดูสถิติส่งออกตลาดสหรัฐฯซึ่งได้รับอานิสงฆ์จากค่าเงินบาทโดยตรง ยอดส่งออกสุทธิจากไทยพุ่งขึ้นสูงหลังปีที่เงินบาทตกแล้วค่อนข้างคงที่จนถึง ปีที่รัฐบาลทักษิณใช้หนี้ไอเอ็มเอฟงวดสุดท้าย[15] ด้วยเหตุนี้ ยากที่จะบอกว่ารัฐบาลทักษิณทำให้ส่งออกได้มากกว่ารัฐบาลก่อนหน้านั้น
บทสรุป
ดิฉันคิดว่ารมว.คมนาคมและผอ.กนข.ยังตอบโจทย์ไม่เสร็จ ดังนั้นรัฐบาลไม่น่าจะรีบร้อนเสนอร่าง พ.ร.บ.กู้เงินฉบับนี้ในรัฐสภา รมว.คมนาคมเสนอว่าจะดึงภาคเอกชนเข้ามีมีส่วนร่วมในอนาคตเพื่อสร้างความโปร่ง ใส ทั้งๆ ที่ถ้า รมว.คมนาคมอยากดึงใครเข้ามาเพื่อสร้างความโปร่งใสก็ดึงได้เลยตอนนี้ไม่ต้อง รอไปถึงอนาคต ที่สำคัญที่สุดคือดึงผู้เชี่ยวชาญที่กนข.เข้ามาสร้างความโปร่งใสด้านราย ละเอียดของโครงการ และให้เวลาประชาชนทำความเข้าใจและตั้งคำถามกันในวงกว้างก่อนที่จะตัดสินใจ เรื่องวิธีการระดมทุน
ที่มา
[1] http://www.youtube.com/watch?v=eSSbFFcNOhE
[2] http://www.thsrc.com.tw/en/about/ab_comp.asp
[3] http://www.jrtr.net/jrtr40/f08_kim.html
[4] http://www.theatlanticcities.com/commute/2011/10/why-tokyos-privately-owned-rail-systems-work-so-well/389/
[5] http://www.theatlanticcities.com/commute/2012/09/why-britains-railway-privatization-failed/3378/
[6] http://www.theatlanticcities.com/commute/2011/10/why-tokyos-privately-owned-rail-systems-work-so-well/389/
[7] http://www.bloomberg.com/news/2012-08-26/u-s-taxpayers-are-gouged-on-mass-transit-costs.html
[8] http://www.home.co.th/Content/DataDetail/73250
[9] http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1354077994&grpid=00&catid=07&subcatid=0700
[10] http://www.japantimes.co.jp/news/2006/04/06/business/privatization-of-jr-tokai-complete-after-20-years/#.UVP8-Rxqn-o
[11] http://english.jr-central.co.jp/company/ir/factsheets/_pdf/factsheets2012-17.pdf
[12]http://www.jrtr.net/jrtr08/pdf/f04_nak.pdf
[13] http://www.jrtr.net/jrtr47/pdf/f26_Jap.pdf
[14] http://www.imf.org/external/np/sec/pr/2003/pr03131.htm
[15] http://www.census.gov/foreign-trade/balance/c5490.html
Cradit : http://www.prachatai3.info/journal/2013/03/46008 ครับ
ผมก็อยากจะให้ คนอื่น ได้ เห็น ได้ อ่าน ได้ คิดตาม แบบที่ผมคิดเอาไว้ ก็เลยขอ Copy มาเผื่อ การศึกษา