วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สุดยอดฟรีโปรแกรม Data Recovery (กู้ข้อมูล) ปี 2012


คนใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะพบปัญหา เผลอลบไฟล์หรือข้อมูลที่สำคัญแบบไม่ตั้งใจและจะกู้ไฟล์หรือข้อมูล ซึ่งในท้องตลาดมีอยู่มากมายทั้งเสียเงินและฟรี ซึ่งในความเป็นจริงแล้วโปรแกรมฟรีๆ ที่ดีมีอยู่หลายตัว วันนี้จะมาแนะนำฟรีโปรแกรมด้านกู้ข้อมูลชั้นดีที่เป็นที่นิยมกันในปี 2012 เผื่อคุณเจอปัญหาข้อมูลต้องการกู้กลับมาใหม่จะได้นำมาใช้กัน
MiniTool Power Data Recovery
 
MiniTool Power Data Recovery (Free Edition) เป็นโปรแกรมช่วยกู้คืนไฟล์หรือข้อมูล จากสาเหตุต่างๆเช่น การเผลอลบไฟล์ ฮาร์ดดิสก์โดนฟอร์เมต ไฟล์ติดไวรัส หรือพาร์ทิชั่นของฮาร์ดดิสก์เกิดความเสียหาย เป็นต้น สามารถรองรับอุปกรณ์เก็บข้อมูลหลากหลาย ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ ซีดี ดีวีดี การ์ดความจำ เฟลชไดร์ฟ   และอุปกรณ์เก็บข้อมูลอื่นๆ รองรับการเชื่อมต่อแบบ IDE, SATA, SCSI, USB, Firewire (IEEE1394) พร้อมสนับสนุนระบบไฟล์ที่เป็น FAT12, FAT16, FAT32, VFAT, NTFS, NTFS5, ISO9660, Joliet และ UDF ทั้งนี้ยังสามารถสร้างแผ่นบูตไว้ใช้ยามฉุกเฉิน แต่ต้องไปดาวน์โหลดเวอร์ชัน Bootable Media Builder ตัวนี้มีประโยชน์ในยามที่พาร์ทิชันเกิดเสียหายบูตวินโดวส์ไม่ได้ก็ใช้แผ่นบูตนี้กู้พาร์ทิชันกลับมาได้
ระบบปฏิบัติการ –  Windows 2000 / XP / 2003 / Vista / 2008/ Windows 7 (32/64Bit)
ดาวน์โหลดhttp://www.powerdatarecovery.com/download.html

Recuva
Recuva โปรแกรมกู้ไฟล์ผลผลิตจากค่ายเดียวกันกับโปรแกรม CCleaner โปรแกรมสำหรับใช้ทำความสะอาดไฟล์ขยะและไฟล์ชั่วคราวต่างๆ ของวินโดวส์ ที่เป็นที่นิยมใช้กันทั่วโลก Recuva โปรแกรมยูทิลิตี้แบบฟรีแวร์สำหรับใช้ในการกู้คืน (Recovery) ไฟล์ข้อมูลต่างๆ ที่ถูกลบทั้งโดยตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจบนเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยโปรแกรมนอกจากสามารถกู้ไฟล์ข้อมูลที่ถูกลบจากถังขยะของวินโดวส์แล้ว ยังสามารถกู้ไฟล์รูปภาพ (Picture) ไฟล์มัลติมีเดีย (Multimedia) และไฟล์ต่างๆ ที่ถูกลบจากการ์ดหน่วยความจำ (Memory Card) ของกล้องถ่ายรูปดิจิตอลหรือเครื่องเล่น MP3 และยังสามารถทำการกู้คืนไฟล์ข้อมูลที่ถูกลบ เนื่องจากทำงานที่ผิดพลาดของโปรแกรมที่เรียกว่า การแครช (Crash) ของระบบวินโดวส์ ทั้งนี้ยังกู้ไฟล์ที่ถูกลบโดยไวรัส (Virus) ได้อีกด้วย
ระบบปฏิบัติการ –  Windows 2000 / XP /  Vista / Windows 7 / Windows 8 (32/64Bit)
ดาวน์โหลดhttp://www.piriform.com/recuva/download

TestDisk
 
TestDisk โปรแกรมกู้ข้อมูลที่ไม่เหมือนใครคือโปรแกรมทำงานบนพื้นฐานของ DOS การใช้งานอาจจะยากหรือไม่เข้าใจเท่าไรสำหรับคนที่ไม่เคยใช้ DOS หรือทำงานในโหมด DOS แต่จุดเด่นอยู่ที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพที่สูงในการกู้ไฟล์ข้อมูล ทั้งยังสามารถแก้ปัญหาตารางพาร์ทิชันและกู้คืนพาร์ทิชันที่ถูกลบได้ แก้ปัญหาเมื่อ Master File Table (MFT) เสียหายก็สามารถใช้ MFT สำรองแทนได้
ระบบปฏิบัติการ – Multi-platform DOS (ทั้งบน DOS จริง หรือ  Windows 9x DOS Box), Windows ตั้งแต่ NT4, 2000, XP, 2003, Vista, 2008, Windows 7 (ทั้ง x86 & x64 แต่ฟังก์ชันบางตัวจะใช้ไม่ได้), Linux kernel 2.4x , 2.6x i386/x86_64, FreeBSD, NetBSD, OpenBSD, SunOS และ  MacOS X
ดาวน์โหลด – http://www.cgsecurity.org/wiki/TestDisk_Download

แหล่งข้อมูล : http://www.techsupportalert.com/

แชร์ไฟล์ระหว่าง Windows 7 กับ Windows XP


ในปัจจุบันก็เป็นที่ทราบกันแล้วการ ใช้คอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายหรือแลนเป็นการใช้ที่กว้างขวาง จะมีใช้ไปทั่วไม่ว่าจะตามบริษัท ห้างร้าน หรือในบ้าน เมื่อมีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในระบบก็ย่อมมีการแชร์ข้อมูลกัน ซึ่งเป็นเรื่องปกติ? แต่วันนี้ที่จะเอาบอกเล่ากันก็เรื่องที่ไม่ปกติของการแชร์ข้อมูล สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในวงแลนเดียวกันที่ใช้โอเอสต่างกัน อย่างเช่น Windows 7 กับ Windows XP ในการที่เครื่อง Windows XP จะแชร์ข้อมูลให้กับเครื่อง Windows 7 นั้นมันเป็นเรื่องง่าย Windows 7 จะ Access เข้าทาง Windows XP ได้ง่ายเพราะระบบของ Windows XP มีระบบป้องกันที่ไม่มากขั้นตอนในการแชร์ ?แต่ในทางกลับกัน ทาง Windows XP จะเข้าไปดูข้อมูลหรือเอาไฟล์ต่างๆจาก Windows 7 ท่านจะได้รับการเตือน is not accessible นั้นเป็นเพราะว่า Service บางตัวในการแชร์ของ Windows 7 ยังปิดอยู่
เรามาเริ่มกันเลยครับ ก่อนอื่นการแชร์ไฟล์ของ Windows 7 และ Windows XP นั้นเครื่องทั้งสองหรือหลายเครื่องต้องอยู่ในวงแลนเดียวกันจะเป็นแบบไร้สาย (Wireless) หรือแบบมีสาย (Wire) ก็ใช้แบบเดียวกัน และ ต้องมีค่า Subnet? Mark เดียวกัน ตัวอย่างของผม
Windows 7 มีค่า IP address 192.168.2.124
Windows XP มีค่า IP address 192.168.2.119
Subnet Mark มีค่า 255.255.255.0
ขั้นตอนตรวจค่า IP Address
1.ที่เครื่อง Windows 7 วิธีการตรวจค่า IP Address และค่า Subnet? Mark ของเครื่องและวงแลนของเราสามารถทำได้ดังนี้
พิมพ์ cmd ลงในช่องว่าง Search ของ Start Menu แล้วกดคีย์ Enter เพื่อเปิดหน้าต่าง Command Prompt จากนั้นที่หน้าต่าง Command Prompt ให้พิมพ์คำสั่ง ipconfig แล้ว Enter ระบบจะรายงานรายละเอียดของเครือข่ายว่ามีเครื่องกำลัง Connect กันเท่าไร และมี IP อะไรบ้าง ให้สังเกตค่า IP ของเครื่องจะอยู่กลุ่มแรกของรายงานในรายการที่เขียนว่า IPv4 Address คือค่า IP ของเครื่อง (ในที่นี่ 192.168.1.124) ถัดมาที่เขียนว่า Subnet Mark คือค่า Subnet Mark (ในที่นี่ 255.255.255.0)

2.ที่เครื่อง Windows XP ให้กดคีย์ โลโก้ Windows + R เมื่อหน้าต่าง Run เปิดออกมาให้พิมพ์ cmd ลงที่ช่องว่าง Open แล้ส Enter เมื่อหน้าต่าง Command Prompt เปิดออกมาก็พิมพ์คำสั่งเดียวเมื่อกับ Windows 7 ในข้อ 1 จะมีการแสดงรายงานออกมาในลักษณะเดียวกันกับ Windows 7
IP Address คือค่า IP ของเครื่อง (ในที่นี่ 192.168.1.119) ถัดมาที่เขียนว่า Subnet Mark คือค่า Subnet Mark (ในที่นี่ 255.255.255.0)

ขั้นตอนตรวจการติดต่อกันระหว่างเครื่อง
3. เรามาทดลองการติดต่อการระหว่างเครื่องในวงแลนกัน? ที่เครื่อง Windows 7 ให้เปิดหน้าต่าง Command Prompt ในวิธีเดียวกันกับ ข้อ 1 แล้วพิมพ์คำสั่ง ping 192.168.2.119 (IP ของเครื่อง Windows XP) จะเห็นว่า Ping หรือติดต่อได้ โดยเครื่อง Windows XP แจ้งสัญญาณการติดต่อกลับมา 4 ชุด ไม่มีการ Lost (0 loss)

4.ที่เครื่อง Windows XP ให้ทำในลักษณะเดียวกันแต่ให้ใช้คำสั่ง ping 192.168.2.124 (IP ของเครื่อง Windows 7) จะติดต่อไม่ได้ระบบรายงานผมเป็น Time out สัญญาณ Lost ทั้ง 4 ชุด (100% loss) นั้นเป็นเพราะ Service บางตัวของ Windows 7 ปิดกั้นการติดต่ออยู่

ขั้นตอนการตั้งค่าแชร์ไฟล์
5.ที่เครื่อง Windows 7 ให้คลิกขวาที่ไอคอนเครือข่ายที่เราใช้อยู่ไอคอนนี้จะอยู่ที่ Taskbar ด้านขวาติดกับนาฬิกา เลือกคำสั่ง Open Network and Sharing Center

6.เมื่อหน้าต่าง Network and Sharing Center เปิดออกมา ?ให้เราดูว่าเครื่อข่ายที่เราใช้อยู่เป็นแบบใด โดยดูที่ View your active networks ในที่นี่เป็น Work network แล้วคลิกที่ Change Advanced sharing settings

7.จะมาที่หน้าต่าง Advanced sharing settings เราจะเห็นว่ามี Network Profiles ให้เลือก 2 Profiles ได้แก่ Home or Work (current profiles) กับ Public ในที่นี่ในเลือก Home or Work (current profiles) ตามที่เราดูจากข้อ 6 ให้คลิกขยายรายการออกมา
8.จะมีหัวข้อต่างๆ ออกมาให้เราตั้งค่า โดยให้คลิกเครื่องจุดหน้ารายการตามนี้
  • Network discovery ? Turn on network discovery เพื่อให้เครื่องอื่น ๆ มองเห็น
  • File and printer sharing ? Turn on file and printer sharing เปิดให้ Share file ได้
  • Public folder sharing ? Turn sharing so anyone with network access can read and write files in the Public folders อนุญาติให้ใครก็ตามใน network สามารถดึงไฟล์ที่เรา Share ไว้ไปใช้งานได้
  • Password protected sharing ? Turn off password protected sharing ไม่ต้องถาม password เวลาใครจะมาดึงไฟล์ที่เรา Share ไว้
เมื่อตั้งค่าเรียบร้อยก็คลิก Save changes

9.เรามาทดลองการเชื่อมต่อจากเครื่อง Windows XP ไปยังเครื่อง Windows 7 โดยใช้คำสั่ง ping 192.168.2.124 ในลักษณแบบข้อ 4 จะเห็นว่าทางเครื่อง Windows 7 อนุญาติให้เครื่อง Windows XP ติดต่อหรือเชื่อมต่อได้แล้ว
ขั้นตอนที่ผ่านมาเป็นการตั้งค่าให้ Windows 7 สามารถ Share ไฟล์ ได้และไม่ถาม password ขั้นตอนต่อไปคือเลือกโฟลเดอร์หรือไดรฟ์ที่ต้องการจะ Share

การแชร์โฟลเดอร์
ขั้นตอนต่อไปนี้จะทำกับโฟลเดอร์ ซึ่งเมื่อเราแชร์โฟลเดอร์ใดแล้ว ถ้ามีโฟลเดอร์ย่อยๆ ที่อยู่ข้างในโฟลเดอร์นี้ลงไปอีกก็ไม่จำเป็นต้องทำโฟลเดอร์นั้นอีก
10.ให้คลิกขวาที่โฟลเดอร์ที่ต้องแชร์ (ในที่นี่เอาโฟลเดอร์ชื่อ Downloads เป็นตัวอย่าง) เลือกคำสั่ง Properties เมื่อหน้าต่าง Properties ของโฟลเดอร์เปิดออกมาให้คลิกที่แท็บ Sharing แล้วคลิกที่ Advanced Setting

11.ต่อมาให้คลิกเครื่องหมายถูกที่ Share this folder แล้วคลิกที่ Permissions เพื่อการกำหนดสิทธิ

12.มาที่หน้าต่างกำหนดสิทธิ ในที่นี่กำหนดให้ Everyone เป็น Full Control โดยเราต้องไปคลิกใส่เครื่องหมายถูกที่ Full Control ภายใต้รายการ Allow แล้วคลิก OK และ OK อีกครั้ง

13.จะกลับมาที่หน้าต่าง Properties ของโฟลเดอร์ตามข้อ 9 ให้คลิกที่ Share

14.จะมาหน้าต่างที่ให้เรากำหนดว่าจะ Share ไฟล์ให้ User คนใด ให้คลิกที่สามเหลี่ยมเล็กๆตรงปุ่ม Add จะมีรายชื่อ User ออกมาให้เลือก ในที่นี่ เลือก Everyone แล้วคลิกปุ่ม Add
15. ชื่อ Everyone จะปรากฎในภายใต้รายการ Name แต่ยังกำหนดสิทธิไว้แค่ Read ให้เรากำหนดใหม่คลิกที่สามเหลื่ยมเล็กๆของรายการ Everyone เลือก Read/Write แล้วคลิกที่ Share

16.ระบบจะทำการจัดระบบการ Share ไฟล์ในโฟลเดอร์นั้นสักครู่ เมื่อเสร็จเรียบร้อยจะปรากฎภาพตามรูป

17.ลองตรวจสอบการ Share ดู ที่เครื่อง Windows XP ให้เปิด My Computer ที่ช่อง Address ให้พิมพ์ IP ของเครื่อง Windows 7 (ในที่นี่ได้แก่ 192.168.2.124) เราจะเข้าเครื่อง Windows 7 ได้ และเห็นโฟลเดอร์ที่ทำการแชร์ (ในที่นี่ได้แก่ Downloads)
การแชร์ไดรฟ์
มาถึงขั้นตอนการแชร์ไดรฟ์ทั้งไดรฟ์แล้วขั้นตอนก็เหมือนกับการแชร์โฟลเดอร์ แต่มีข้อปลีกย่อยเพิ่มอีกนิดหน่อย
18.คลิกขวาที่ไดรฟ์ที่เราจะแชร์ เลือกคำสั่ง Properties เมื่อหน้าต่าง Properties ของไดรฟ์เปิดออกมา ให้คลิกที่แท็บ Sharing แล้วคลิกที่ Advanced Sharing

19.ต่อมาให้คลิกใส่เครื่องหมายถูกที่ Share this folder แล้วคลิก OK

20.จะกลับมาที่หน้าต่าง Properties ของไดรฟ์ ให้เลือกคลิกที่แท๊บ Security แล้วคลิกที่ Edit

21.จะมาที่หน้าต่าง Select Users or Groups ที่ช่องว่างใต้ Enter the object name to select พิมพ์คำว่า Everyone แล้วคลิก OK

22.หน้าต่อมาเป็นหน้าที่ให้กำหนดสิทธิ ให้คลิกเครื่องหมายถูกที่ Full control ภายใต้รายการ Allow คลิก OK ปล่อยให้ระบบจะทำงานสักครู่ เราก็สามารถ Share ไดรฟ์ใน Windows 7 ได้แล้ว